About Payroll
เกี่ยวกับเงินเดือน
การคำนวณค่าจ้างสำหรับลูกจ้างตามกฎหมาย
ลูกจ้างหรือพนักงาน ไม่ว่าจะเป็นแบบ รายวัน หรือ รายเดือน การขาดงาน การลา การมาสาย หรือ การออกงานก่อนเวลา นับเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้ แต่มีลูกจ้างหรือพนักงาน หลายๆ คน ที่ไม่ทราบวิธีการคิดคำนวณเงินเรื่องเหล่านี้ ซึ่งเป็นเรื่องที่ควรรู้เป็นอย่างยิ่ง ดังนั้นเรานำวิธีการคิดคำนวณเงินเดือนสำหรับพนักงานรายเดือน และการคำนวณค่าจ้าง/ค่าแรง สำหรับพนักงานรายวัน มาให้ศึกษากันดังนี้
กฎหมายแรงงานกับการจ่ายเงินเดือน/ค่าจ้างข้อตกลงเกี่ยวกับการจ้างงาน หรือการคำนวณจ่ายเงินเดือนหรือค่าจ้าง ของแต่ละบุคคลนั้นขึ้นอยู่กับลักษณะเฉพาะของแต่ละบริษัท กรณีข้อตกลงเกี่ยวกับ “สภาพการจ้างงานตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน” ได้ให้สิทธินายจ้างเป็นผู้กำหนดเงื่อนไขและหลักเกณฑ์ในการทำงาน ตั้งแต่ วันและเวลาทำงาน การจ่ายค่าจ้าง การกำหนดวันหยุด การลา การทำงานล่วงเวลา และการทำงานล่วงเวลาในวันหยุด ไปจนถึงการเลิกจ้าง โดยห้ามนายจ้างกำหนดเงื่อนไขและหลักเกณฑ์ในข้อดังกล่าว “ต่ำกว่า” ที่กฎหมายคุ้มครองแรงงานกำหนด
การคำนวณเงินได้สุทธิสำหรับลูกจ้าง/พนักงานการคำนวณเงินได้พนักงานรายเดือน ได้ทั้งแบบทำงานเต็มเดือน และทำงานไม่เต็มเดือน
(1) การคำนวณจ่ายแบบทำงานเต็มเดือน (รอบ)
- รายได้ = เงินเดือนเต็มเดือน + รายได้ต่างๆ
- รายหัก = ส่วนต่างเวลาตามกำหนด + ภาษี + ประกันสังคม + รายหักต่างๆ
- เงินได้สุทธิ = รายได้ - รายหัก ตัวอย่างการคำนวณ :
- รายได้ = 15,000 (ส่วนของเงินเดือน)
- รายหัก = 750 (ส่วนของประกันสังคม)
- เงินได้สุทธิ = 14,250
ลูกจ้าง/พนักงานได้รับค่าจ้างรายเดือน เดือนละ 15,000 บาท ประกันสังคม 750 บาท คำนวณได้ดังนี้
(2) การคำนวณจ่ายแบบทำงานไม่เต็มเดือน (รอบ)
การคำนวณแบบไม่เต็มเดือน (รอบ) สำหรับลูกจ้าง/พนักงานได้รับค่าจ้างรายเดือน พนักงานทำงานไม่เต็มเดือน (รอบ) เช่น เริ่มเข้าทำงาน ระหว่างเดือน (รอบ) หรือ ลาออกจากงานระหว่างเดือน (รอบ) สามารถคำนวณเงินเดือนได้ตามจำนวนวัน ยกตัวอย่าง รอบเดือนเมษายน
- รายได้ = เงินเดือนตามจำนวนวัน + รายได้ต่างๆ
- รายหัก = ส่วนต่างเวลาตามกำหนด + ภาษี + ประกันสังคม + รายหักต่างๆ
- เงินได้สุทธิ = รายได้ - รายหัก ตัวอย่างการคำนวณ :
- รายได้ = 7,500 (ส่วนของเงินเดือน 15,000 / 30 x 15)
- รายหัก = 375 (ส่วนของประกันสังคม)
- เงินได้สุทธิ = 7,125
ลูกจ้าง/พนักงานได้รับค่าจ้างรายเดือน เดือนละ 15,000 บาท มาเข้างาน 16 เมษายน วันทำงาน คำนวณจากวันที่ 16 – 30 = 15 วัน คำนวณได้ดังนี้
การคำนวณค่าจ้าง/ค่างแรงพนักงานรายวัน สามารถคำนวณ ได้ตามที่ลูกจ้าง/พนักงานมาทำงาน คำนวณได้ดังนี้
- รายได้ = ค่าจ้างตามจำนวนวันที่มาทำงาน + รายได้ต่างๆ
- รายหัก = ส่วนต่างเวลาตามกำหนด + ภาษี + ประกันสังคม + รายหักต่างๆ
- เงินได้สุทธิ = รายได้ - รายหัก ตัวอย่างการคำนวณ :
- รายได้ = 3,000 (ส่วนของค่าจ้าง/ค่าแรง 300 x 10)
- รายหัก = 150 (ส่วนของประกันสังคม)
- เงินได้สุทธิ = 2,850
ลูกจ้าง/พนักงานได้รับค่าจ้างรายวัน วันละ 300 บาท มาเข้างาน 16 เมษายน วันทำงาน คำนวณเฉพาะวันทำงาน (โดยไม่รวมวันหยุด) วันที่ 16 – 30 = 10 วัน คำนวณได้ดังนี้
การคำนวณค่าจ้าง/ค่างแรงพนักงานรายชั่วดมง สามารถคำนวณ ได้ตามที่ลูกจ้าง/พนักงานชั่วโมงมาทำงาน คำนวณได้ดังนี้
- รายได้ = ค่าจ้างตามจำนวนชั่วโมงมาทำงาน + รายได้ต่างๆ
- รายหัก = ส่วนต่างเวลาตามกำหนด + ภาษี + ประกันสังคม + รายหักต่างๆ
- เงินได้สุทธิ = รายได้ - รายหัก ตัวอย่างการคำนวณ :
- รายได้ = 1,500 (ส่วนของค่าจ้าง/ค่าแรง 37.50 x 40)
- รายหัก = 75 (ส่วนของประกันสังคม)
- เงินได้สุทธิ = 1,425
ลูกจ้าง/พนักงานได้รับค่าจ้างรายวัน ชั่วโมงละ 37.50 บาท มาเข้างาน 16 เมษายน วันทำงาน คำนวณเฉพาะวันทำงาน (โดยไม่รวมวันหยุด) วันที่ 16 – 30 = 40 ชั่วโมง คำนวณได้ดังนี้